การแจ้งเกิด
ผู้แจ้ง
- เด็กเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของ ผู้เป็นเจ้าบ้าน
- เด็กเกิดนอกบ้าน เป็นหน้าที่ของ มารดาเด็กหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- เด็กเกิดที่โรงพยาบาล เป็นหน้าที่ของ โรงพยาบาลจะออกใบรับรองการเกิดให้บิดาหรือมารดา
เพื่อนำไปแจ้งการเกิดที่สำนักทะเบียนที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่(ยกเว้น โรงพยาบาลแห่งที่ทำความตกลงกับสำนักงานเขตอาจเป็นผู้ดำเนินการแจ้งเกิดให้)
กำหนดเวลาการแจ้งเกิด
- ต้องแจ้งชื่อของเด็กพร้อมการเกิดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด
สถานที่แจ้งเกิด
๑. เด็กที่เกิดในเขตเทศบาล แจ้งที่สำนักงานทะเบียนซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาลนั้นเอง
๒. เด็กที่เกิดนอกเขตเทศบาล แจ้งที่ที่ว่าการอำเภอหรือที่สำนักงานทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เช่น เขตกรมทหาร
๓. เด็กที่เกิดในกรุงเทพมหานคร แจ้งที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเขต
๔. เด็กซึ่งเป็นบุตรบุคคลสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ ถ้าต้องการให้บุตรมีสัญชาติไทยต้องแจ้งต่อสถานกงสุลไทย หรือสถานฑูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ เนื่องจากสถานกงสุลไทย หรือสถานฑูตไทยเป็นสำนักงานทะเบียนในต่างประเทศ
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- กรณีเกิดที่บ้าน
๑. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและของบิดามารดาเด็ก
๒. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- กรณีเกิดนอกบ้าน
๑. บัตรประจำตัวประชาชนของมารดาเด็ก
๒. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
๓. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ที่ได้รับมอบหมาย (กรณีมารดาเด็กไม่ได้ไปแจ้งเกิดด้วยตนเอง)
- กรณีเกิดที่โรงพยาบาล
๑. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาเด็กและผู้แจ้ง (กรณีที่บิดามารดาไม่สามารถไปแจ้งได้ด้วยตนเอง)
๒. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะนำเด็กย้ายเข้า
๓. หนังสือรับรองการเกิดของผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ
๔. อายุ สัญชาติ
ค่าธรรมเนียม
การแจ้งเกิดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ
โทษของการไม่แจ้งเกิด
การไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลามีความผิด และมีโทษปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท
การแจ้งเกิดเกินกำหนด
- หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงกรณีเป็นบุตรของบุคคลที่มีสัญชาติไทย
๑. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
๒. บัตรประจำตัวประชาชน
๓. หลักฐานที่แสดงว่าบิดามารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร สูติบัตร ใบสุทธิ
๔. พยานเอกสาร ได้แก่ ใบรับรองการเกิด ทะเบียนนักเรียน(ถ้ามี)
๕. พยานบุคคลผู้รู้เห็นการเกิด ได้แก่ บิดามารดา ผู้ทำคลอด เจ้าบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้รู้เห็นการเกิดอื่น ๆเช่น ญาติพี่น้องเพื่อนบ้าน โดยต้องมีพยานบุคคลอย่างน้อย ๒ คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
- หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงกรณีเป็นบุตรของบุคคลต่างด้าว
๑. เช่นเดียวกับผู้มีสัญชาติไทยทั้ง ๕ ข้อ
๒. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้ายของบิดามารดา
๓. รูปถ่ายเด็กที่ขอแจ้งเกิด ขนาด ๒"x๓" จำนวน ๒ ภาพ
๔. รูปถ่ายทั้งครอบครัวของเด็กที่ขอแจ้งเกิด จำนวน ๑ รูป โดยระบุชื่อและความสัมพันธ์กับเด็กทุกคนไว้ด้านหลังรูป
๕. หลักฐานการพิสูจน์ตัวบุคคลที่เกิดแต่ไม่ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา เช่น ทะเบียนนักเรียน
๖. เอกสารหลักฐานต่าง ๆ หากเป็นสำเนาของหน่วยราชการให้หน่วยราชการนั้นเป็นผู้รับรองให้เรียบร้อยด้วย
- ค่าธรรมเนียม ไม่เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่เสียค่าปรับ ไม่เกิน ๒๐๐ บาท
**หมายเหตุ**เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและสอบสวนข้อเท็จจริงเปรียบเทียบปรับ (กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา)และได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย (กรณีบุตรบุคคลต่างด้าว)แล้ว นายทะเบียนจะออกสูติบัตรพร้อมทั้งเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้าน
|