แผนชุมชน ปี 2563
บ้านบุหว้า
หมู่ที่ 8 ตำบลสระว่านพระยา
อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
ก่อนเป็นบ้านบุหว้า หลังจากป่าดิบถูกทำลายมาเป็นไร่ข้าวโพด มีคนอพยพเข้ามาทำมาหากินมาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ในปี 2516 ได้เริ่มรวมกันเป็นกลุ่ม พ.ศ.2517-2518 หลายผู้นำเริ่มคิดจะตั้งเป็นหมู่บ้าน ปี 2519-2520 แล้วตั้งชื่อเป็นหมู่บ้านเดิมในพื้นที่ป่าดิบถูกทำลาย ปล่อยร้างเป็นเวลานานๆ ถึงเป็นบุเอาต้นหว้า เอามารวมถึงเป็น ต้นบุหว้า
มีผู้ใหญ่บ้านครั้งแรก คือ นายบัวลา แสงทอง ต่อมาเป็นนายเบ้า นิยมประภาสกุล ได้สร้างสิ่งต่างๆ เป็นขั้นพื้นฐาน ไว้หลายอย่างเป็นขั้นพื้นฐาน เช่น วัด โรงเรียน ถนนเชื่อมหมู่บ้าน
ต่อมามีนายอ้วน อินทร์คำเป็นผู้ใหญ่บ้าน นายวิชัย โมฆะศิริเป็นผู้ใหญ่บ้านและ ปี 2558 นายบุญมา บุญหลายเป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน
สภาพทั่วไป
1. ที่ตั้ง
บ้าน บุหว้า หมู่ที่ 8 ตำบล สระว่านพระยา ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออก ของที่ว่าการอำเภอครบุรี และห่างจากตัวอำเภอครบุรีเป็นระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร โดยเป็นถนน ลาดยาง
2. พื้นที่
มีพื้นที่ทั้งหมด 5,185 ไร่ แบ่งพื้นที่เพื่อทำการเกษตรประมาณ 5,000 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัยประมาณ 185 ไร่
3. อาณาเขต
มีอาณาเขตติดต่อหมู่บ้านใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านโนนหอม หมู่ที่ 7 ตำบล สระว่านพระยา อำเภอ ครบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหนองหินโคน หมู่ที่ 5 ตำบล สระว่านพระยา อำเภอ ครบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านโนนแสนสุข หมู่ที่ 2 ตำบล สระว่านพระยา อำเภอ ครบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหนองเมา หมู่ที่ 1 ตำบล สระว่านพระยา อำเภอ ครบุรี
4. ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะ
พื้นที่ราบลุ่ม ไม่มีหินภูเขา ไม่มีป่า
สภาพลักษณะดิน
ดินเหนียว ดินแดง
แหล่งน้ำที่สำคัญในหมู่บ้าน
1.สระน้ำหนองหิน
2.สระน้ำหนองไผ่
3.สระน้ำบ่อหลวง
5. ข้อมูลประชากร
1. หมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 106 ครัวเรือน
2. จำนวนประชากรรวมทั้งหมด 477 คน แบ่งเป็นชาย 225 คน หญิง 253 คน
จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ
อายุน้อยกว่า 1 ปี 3 คน
อายุ 1 ปี ถึง 14 ปี 93 คน
อายุ 15 ปี ถึง 17 ปี 25 คน
อายุ 18 ปี ถึง 60 ปี 330 คน
มากกว่า 60 ปีขึ้นไป 28 คน
6. ระดับการศึกษา
ไม่จบประถมศึกษา 25 คน จบประถมศึกษา 228 คน
จบมัธยมศึกษาตอนต้น 51 คน จบมัธยมศึกษาตอนปลาย 41 คน
จบระดับอนุปริญญา 15 คน จบระดับปริญญาตรี 15 คน
จบสูงกว่าปริญญาตรี - คน
7. การเมืองการปกครอง
ผู้นำหรือคณะกรรมการในชุมชนที่สำคัญ ประกอบด้วย
นายบุญมา บุญหลาย ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน
นายวิเชียร วิมลกลาง ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางอินทิรา อินทะจร ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสมชาย แสนรัมย์ ตำแหน่ง สมาชิก อบต./สท.
นายฉลอง เสยกระโทก ตำแหน่ง สมาชิก อบต./สท.
นายประยูร จะแจ้ง ตำแหน่ง ประธาน/กรรมการกองทุนหมู่บ้าน
นางพั่ว วังกลาง ตำแหน่ง ประธาน/กรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน
นางพั่ว วังกลาง ตำแหน่ง ประธาน/กรรมการกลุ่มออมทรัพย์ฯ
นายตระกูล อุ่นใจ ตำแหน่ง อาสาพัฒนาชุมชน(อช.)
นางสุกัญญา จะแจ้ง ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)
8. การประกอบอาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านประกอบอาชีพ
1. อาชีพหลัก ได้แก่ ทำไร่มันสำปะหลัง, อ้อย, ข้าวโพด, ทำนา
2. อาชีพรอง ได้แก่ รับจ้างทั่วไป
จำแนกประเภทอาชีพ
- ทำนา 30 ราย - ทำไร่ 81 ราย - ค้าขาย 5 ราย
- รับจ้าง 17 ราย - ช่าง - ราย - อื่นๆ (ระบุ) - ราย
3. ค่าแรงในหมู่บ้าน วันละ 150 บาท
4. รายได้เฉลี่ยของประชากร จำนวน 20,000 บาท/คน/ปี
9. สภาพทั่วไปทางสังคม
1. ลักษณะการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีในหมู่คณะ
2. ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม/เทศกาลประจำปี (มีอะไรบ้าง จัดในช่วงไหน มีความสำคัญอย่างไร)
วันขึ้นปีใหม่ ทำบุญตักบาตรที่วัด วันสงกรานต์ที่ทำบุญตักบาตร ที่วัด รดน้ำตำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ วันเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตร แห่เทียนเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตรเทโว
3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน
สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก
4. ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน (การละเล่น ประเพณี ภาษา อาชีพ มีอะไรบ้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีใครบ้างและมีความสามารถด้านใด)
ประเพณีวันสงกรานต์รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้สูงอายุ
5. ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้าน
ชื่อผลิตภัณฑ์ : ข้าวโพดหวาน, พืชผักสวนครัวทั่วไป
ผลิตโดยกลุ่ม/บุคคล : กลุ่มปลูกผักหมุนเวียน
จุดเด่น : ปลอดสารพิษตกค้าง, ได้สินค้าใหม่สด
ราคา : ตามสภาพการตลาด
การจำหน่าย : สมาชิกกลุ่มปลูกผักหมุนเวียน
ติดต่อได้ที่ : บ้านโนนหอม
6. สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่บริการ
สถานบริการ/โครงสร้างพื้นฐาน
- วัด จำนวน 1 แห่ง - ประปาหมู่บ้าน จำนวน - แห่ง
- โรงเรียน จำนวน 1 แห่ง - สถานีอนามัย จำนวน - แห่ง
- ร้านค้า จำนวน 9 แห่ง - ปั๊มน้ำมัน จำนวน - แห่ง
10. ข้อมูลการดำเนินงานกลุ่มทางเศรษฐกิจ
ในหมู่บ้านมีการจัดตั้งจำนวนกองทุนชุมชน/กลุ่มเศรษฐกิจชุมชน จำนวน 5 กลุ่ม
1. กองทุนหมู่บ้าน
ประธานกลุ่มชื่อ นายประยูร จาแจ้ง บ้านเลขที่ 17 โทรศัพท์ -
มีคณะกรรมการ จำนวน 15 คน เป็นชาย 8 คน หญิง 7 คน
สมาชิกกลุ่ม จำนวน 94 คน จำนวนเงินทุน - บาท
2. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
ประธานกลุ่มชื่อ นายอ้วน อินทร์คำ บ้านเลขที่ 155 โทรศัพท์ -
มีคณะกรรมการ จำนวน 15 คน เป็นชาย 10 คน หญิง 5 คน
จำนวนเงินทุน - บาท
3. คณะกรรมการ SML
ประธานกลุ่มชื่อ นายอ้วน อินทร์คำ บ้านเลขที่ 155 โทรศัพท์ -
มีคณะกรรมการ จำนวน 15 คน เป็นชาย 10 คน หญิง 5 คน
จำนวนเงินทุน - บาท
4. กลุ่มอาชีพกลุ่มจักรเย็บผ้า
ประธานกลุ่มชื่อ นางพั่ว วังกลาง บ้านเลขที่ 18 โทรศัพท์ 081-0696228
มีคณะกรรมการ จำนวน 5 คน เป็นชาย - คน หญิง 5 คน
สมาชิกกลุ่ม จำนวน 13 คน จำนวนเงินทุน 2,000 บาท
5. กลุ่มออมทรัพย์เฉลิมพระเกียรติ
ประธานกลุ่มชื่อ นางพั่ว วังกลาง บ้านเลขที่ 18 โทรศัพท์ 081-0696228
มีคณะกรรมการ จำนวน 15 คน เป็นชาย - คน หญิง 15 คน
สมาชิกกลุ่ม จำนวน 40 คน จำนวนเงินทุน 200,000 บาท
สภาพปัญหาความยากจน
1. ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.(ต่ำกว่า 23,000 บาท/คน/ปี) ตามข้อมูล จปฐ. ปี 2551 จำนวน 2 ครัวเรือน
2. ผู้ที่เวทีประชาคมกำหนดให้เป็นผู้ยากจน จำนวน - ราย
|